วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

วิธีเปลี่ยนโครงสร้างความคิดที่บ่อนทำลายทั้ง 8



8 Destructive thinking patterns and how to change them
จากสมาคมจิตแพทย์สหราชอาณาจักร
1. 'Life is shit' Thinking pattern - ทุกอย่างในชีวิตแย่ไปหมด ไม่มีใครที่วางใจได้และไม่มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับฉันเลย เช่น "ฉันไม่ได้งานนี้เพราะคนสัมภาษณ์ไม่ชอบฉัน ฉันก็ไม่ชอบพวกเขาเหมือนกัน"
2. 'Unsubstantiated conclusive' Thinking pattern - มักจะสรุปอะไรเยอะแยะไปหมดโดยไม่มีหลักฐานที่ยืนยันข้อสรุป สิ่งนี้จะทำให้จำกัดการมองเห็นความจริงว่าที่แท้เป็นอย่างไรกันแน่ เช่น "เขาเดินตลกนะ สงสัยจะเป็นเกย์"
3. 'Never to me' Thinking pattern - เป็นการคิดว่าไม่มีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นในชีวิตเลย เป็นการคิดที่บดบังความสามารถของคนที่จะเชื่อว่าจะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในชีวิตของตน เช่น "ฉันไม่มีเงินเลย ฉันจะไม่มีทางจะมี แล้วก็คงจะไม่มีต่อไปในอนาคต แล้วก็ต้องทำงานนี้ต่อไป อย่างน้อยก็คงจะจ่ายค่าทำศพฉันได้"
4. 'The negative psychic' Thinking pattern - เป็นการคาดเดาว่าคนอื่นเขาจะคิดกับเราอย่างไรและเขาจะคิดไม่ดีกับเราอย่างไร เช่น "เธอต้องคิดว่าฉันเป็นคนโง่ ฉันพยายามหลีกเลี่ยงที่จะคุยกับเธอ"
5. 'Should, would could' Thinking pattern - คนอย่างนี้จะรู้ว่าจะต้องทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง และรู้ว่าจะทำต่อเมื่อ... เช่น "ฉันรู้ว่าฉันจะเข้ามหาวิทยาลัยและฉันอาจจะ แต่ฉันยุ่งเหลือเกินกับสิ่งที่ควรจะทำ ฉันไปสมัครปีหน้าก็แล้วกัน"
6. 'Emotion based' Thinking pattern - อารมณ์ได้ควบคุมสิ่งที่คุณคิด และวิสัยทัศน์ในการเห็นความจริง เช่น "ฉันรู้สึกว่าฉันไม่สามารถที่จะทำสิ่งนั้น ดังนั้นฉันจึงทำไม่ได้"
7. 'It's all my fault' Thinking pattern - คุณเห็นว่าตัวคุณเป็นสาเหตุของสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น "เป็นความผิดของฉันเองที่เขาทิ้งฉันไปหาผู้หญิงอื่น"
8. 'They're all wrong' Thinking pattern - คุณเห็นว่าคนทั้งหมดไม่มีความสามารถในการทำสิ่งที่ถูกและหนทางของคุณเป็นหนทางที่ดีที่สุด เช่น "เขาไม่สามารถจะทำให้มันถูกได้ ฉันจะอยู่ทำงานดึกคืนนี้ เพื่อที่จะซ่อมมันเมื่อเขาไปแล้ว"

วิธีแก้ไขก็คือ
1. Recognise the problem - Everybody's perception of life is different, therefore everyone's reality is different. ตระหนักปัญหาที่แท้จริงว่าการรับรู้เรื่องชีวิตแตกต่างกัน ดังนั้นความจริงของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน โลกของแต่ละคนแตกต่างกัน โลกทัศน์ ก็คือตัวตนนั่นเอง ตัวตนนั้นแตกต่างกัน
2. Aware of when you are using the destructive thinking pattern. ตระหนักว่าตอนนี้เราเริ่มใช้แบบแผนความคิดที่บ่อนทำลายอีกแล้ว ค่อย ๆ เตือนตัวเองบ่อย ๆ
3. Replace the bad with good. เป็นสิ่งที่จะยังทำไม่ได้ในทันที แต่อย่าคอยบอกตัวเองว่า "ฉันจะไม่สามารถทำเช่นนั้น" เปลี่ยนเป็น "ใช่สิ ฉันทำด้านบวกได้"

ฝึกฝนความคิด เหมือนออกกำลังกาย ภายในไม่กี่เดือนจะเห็นผล เมื่อโครงสร้างความคิดเปลี่ยน โครางสร้างอื่น ๆ ก็เปลี่ยนตามไปด้วย...

วันเสาร์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

Brave and Compassion

เมื่อใดก็ตามที่แสดงความกล้าหาญด้วยความกรุณาอันบริสุทธิ์
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่

เป็นพลังที่ออกมาจากท้องและหัว-ใจ
เป็นการกระเทาะเปลือกที่แข็งกร้าวของหัวใจ
ด้วยความเฉียบคมและนุ่มนวลพอดิบพอดีกัน

วันพฤหัสบดีที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

วาจา

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันจันทร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

เรากำลังทำอะไรอยู่



เรากำลังทำอะไรอยู่
เรารู้สึกอย่างไรในขณะนั้น
มีอาการทางร่างกายและอารมณ์อย่างไรในขณะนั้น
อาการ คือ สัญญาณ ที่ตัวเรากำลังส่งถึงตัวเรา
เรารู้จักสัญญาณที่ทำให้เกิดอิสรภาพที่แท้จริงหรือยัง

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑

The Immortal Friend














Oh! Listen,
I will sing to thee the song of my Beloved.

Where the soft green slopes of the still mountains
Meet the blue shimmering waters of the noisy sea,
Where the bubbling brook shouts in ecstasy,
Where the still pools reflect the calm heavens,
There thou wilt meet with my Beloved.

In the vale where the cloud hangs in loneliness
Searching the mountain for rest,
In the still smoke climbing heavenwards,
In the hamlet toward the setting sun,
In the thin wreaths of the fast disappearing clouds,
There thou wilt meet with my Beloved.

Among the dancing tops of the tall cypress,
Among the gnarled trees of great age,
Among the frightened bushes that cling to the earth,
Among the long creepers that hang lazily,
There thou wilt meet with my Beloved.

In the ploughed fields where noisy birds are feeding,
On the shaded path that winds along the full, motionless river,
Beside the banks where the waters lap,
Amidst the tall poplars that play ceaselessly with the winds,
In the dead tree of last summer's lightning,
There thou wilt meet with my Beloved.

In the still blue skies,
Where heaven and earth meet
In the breathless air,
In the morn burdened with incense,
Among the rich shadows of a noon-day,
Among the long shadows of an evening,
Amidst the gay and radiant clouds of the setting sun,
On the path on the waters at the close of the day,
There thou wilt meet with my Beloved.

In the shadows of the stars,
In the deep tranquility of dark nights,
In the reflection of the moon on still waters,
In the great silence before the dawn,
Among the whispering of waking trees,
In the cry of the bird at morn,
Amidst the wakening of shadows,
Amidst the sunlit tops of the far mountains,
In the sleepy face of the world,
There thou wilt meet with my Beloved.

Keep still, O dancing waters,
And listen to the voice of my Beloved.

In the happy laughter of children
Thou canst hear Him.
The music of the flute
Is His voice.
The startled cry of a lonely bird
Moves thy heart to tears,
For thou hearest His voice.
The roar of the age-old sea
Awakens the memories
That have been lulled to sleep
By His voice.
The soft breeze that stirs
The tree-tops lazily
Brings to thee the sound
Of His voice.

The thunder among the mountains
fills thy soul
With the strength
Of His voice.
In the roar of a vast city,
through the voices of the night,
The cry of sorrow,
The shout of joy,
Through the ugliness of anger,
Comes the voice of my Beloved.

In the distant blue isles,
On the soft dewdrop,
On the breaking wave,
On the sheen of waters,
On the wing of the flying bird,
On the tender leaf of the spring,
Thou wilt see the face of my Beloved.

In the sacred temple,
In the halls of dancing,
On the holy face of the sannyasi,
In the lurches of the drunkard,
With the harlot and with the chaste,
Thou wilt meet with my Beloved.

On the fields of flowers,
In the towns of squalor and dirt,
With the pure and the unholy,
In the flower that hides divinity,
There is my well-Beloved.

Oh! the sea
Has entered my heart,
In a day,
I am living an hundred summers.
O, friend,
I behold my face in thee,
The face of my well-Beloved.

This is the song of my love.

Writen by Krishnamurti in 1928

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

Rest in Natural Great Peace














Rest in natural great peace
This exhausted mind
Beaten helpless by karma and neurotic thought
Like the relentless fury of the pounding waves
In the infinite ocean of samsara.

Rest in great natural peace.

Said by Nyoshuh Khenopo Rinpoche

วันจันทร์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

Rumi's poem


















If I see you, I will laugh out loud or fall silent
Or explode into a thousand pieces.
If I don’t see you, I will be caught
In the cement and stone of my own prison.

วันพุธที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

วันนี้วันครู

นั่งนึกถึงครูในชีวิต
หลายท่านยังมีชีวิตอยู่ บางท่านจากไปแล้ว
ขอลมหายใจเป็นเครื่องกำนัลท่านเหล่านั้น
แบ่งปันความอัศจรรย์และความสุข
ให้กับครูทุกท่าน

ความหมายของความสุข















ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนประเทศภูฏาน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจทราบแล้วว่าประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่อง “ความสุข” ประเทศนี้มีดัชนีชี้วัดความสุข (Gross National Happiness) อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และเมื่อผู้เขียนได้พูดคุยกับคนภูฏาน ต่างก็พูดตรงกันว่าเป้าหมายในชีวิตของพวกเขาคือ ความสุข และหากสังเกตการใช้ชีวิตของคนภูฏาน จะพบว่าพวกเขาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และด้วยสาเหตุนี้เอง อาจทำให้พวกเขาเข้าใจตนเองและเข้าถึงความต้องการของชีวิตได้อย่างตรงไปตรงมา

ดังนั้น เมื่อทุกคนในประเทศมีเป้าหมายร่วมกันคือ ความสุข ดังนั้นภารกิจหลักของประชาชนก็คือ การนิยามว่า ความสุข คืออะไร และทำอย่างไรจะทำให้ชีวิตมีความสุข ในฐานะที่คนภูฏานนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ดังนั้นคำสอนของศาสนาจึงเข้าไปสู่วิถีชีวิตของคนภูฏานในทุกรูปแบบ สังเกตทุกบ้าน ทุกอาคารสถาน จะมีสัญลักษณ์ ที่เป็นคำสอนของศาสนาพุทธอยู่ทั่วไปหมด หันไปทางไหนก็จะพบกับสัญลักษณ์ทางศาสนาในมุมต่าง ๆ ดังนั้นผู้เขียนจึงเชื่อว่า การนิยามความหมายของคำว่า ความสุขของคนภูฏาน ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับคำสอนทางศาสนานั่นเอง

ประเทศภูฏานได้รับการขนานนามว่าเป็นอารยธรรมสุดท้ายของโลก (ที่ยังไม่เป็นพวกวัตถุนิยม) ท่ามกลางหุบเขา และธรรมชาติอันงดงาม ประเทศภูฏานสามารถอนุรักษ์สภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และดูเหมือนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยียนประเทศนี้ แม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจด้านการโรงแรม ต่างก็มีจิตสำนึกที่จะธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมชาติแบบดั้งเดิม แทนที่จะบ่อนทำลายแบบ “ที่ดินฉันเรื่องของฉัน” โดยการสร้างสถาปัตยกรรมที่ไม่เข้าพวกกับใครโดยรอบเลย แต่การสร้างบ้านเรือนหรือสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศภูฏานนั้น เป็นไปอย่างมีแบบแผน อย่างเข้าใจสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และเข้าใจชุมชน โดยที่ชาวบ้านธรรมดา หรือชาวนานั้น สามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ ในแบบที่เป็นศิลปะดั้งเดิม ที่คนภูฏานภาคภูมิใจ บ้านเรือนมีรูปทรงสวยงาม ประดับประดาด้วยไม้ โดยเฉพาะประตูหน้าต่างทาสีสวยงาม มีรายละเอียดปลีกย่อยที่พิถีพิถัน นอกจากนั้นยังคงทนแข็งแรง บางหลังสร้างขึ้นมาจากดิน ซึ่งสามารถอยู่ได้หลายร้อยปีเลยทีเดียว ผู้เขียนไม่ทราบว่า รัฐบาลภูฏานดูแลเรื่องนี้อย่างไร แต่ที่แน่นอนคือการสร้างบ้านไม่ได้เป็นเรื่องสิ้นเปลืองในชีวิตของคนภูฏานเลย และเมื่อทุกคนมีบ้าน ก็ย่อมมีความมั่นคงในชีวิต สามารถสร้างครอบครัวใหญ่ ที่มีคนหลายรุ่นอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน คนภูฏานเป็นคนมีน้ำใจงาม ผู้เขียนมีโอกาสขอเยี่ยมชมบ้านของชาวนา พวกเขาให้การต้อนรับคนไทยเป็นอย่างดี พาไปเยี่ยมชมห้องต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้ห้องต่าง ๆ จะมอมแมมตามการใช้งาน แต่ห้องพระได้รับการจัดไว้อย่างปราณีต เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนในครอบครัว ผู้เขียนไม่แปลกใจว่าทำไม ประชาชนภูฏานจึงมีความสุข ถึงแม้รายได้ต่อหัวของประเทศจะต่ำ แต่ความมั่นคงในชีวิตประชาชนนั้น สูงมากเลยทีเดียว นั่นเอง ทำให้พวกเขามีความมั่นใจ เพราะเข้าใจตนเอง เข้าใจชีวิตว่าต้องการอะไร ไม่ต้องอับอายในความยากจนที่ถูกนิยามด้วยประเทศอื่น เพราะมนุษย์ทุกคนก็ต้องเดินสู่เส้นทางของการแสวงหา ความสุขที่แท้จริง เช่นกัน

ดังนั้นคนภูฏานโดยทั่วไปจึงไม่ค่อยรู้สึกอยากจะไปแข่งขันกับใคร เพราะชีวิตค่อนข้างพอเพียงแล้ว รุ่นลูกรุ่นหลานก็สามารถส่งเข้าโรงเรียนได้หมด เด็กชาย เด็กหญิงสามารถบวชเรียนเป็นสามเณร หรือสามเณรีได้ ฆราวาสกับพระมีชีวิตที่ใกล้ชิดกันมาก สถานที่ราชการและวัดก็อยู่ที่เดียวกัน เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมรัฐสภา โบสถ์พระก็อยู่ในรั้วเดียวกันนั่นเอง ทำให้รู้สึกว่าการทำงานกับความศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้ถูกแบ่งแยกออกจากกัน อย่างน้อยคนทำงานย่อมจะต้องมีจิตสำนึกในชีวิตประจำวันที่ซื่อสัตย์สุจริตไม่มากก็น้อย

ผู้เขียนรู้สึกว่า มนุษย์ที่ล้วนแสวงหาสัจจธรรมในชีวิตนั้น ย่อมจะต้องมีความพยายามที่จะศึกษาเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น สภาพภายในจิตใจของผู้ที่อยู่บนเส้นทางของความเพียร อย่างเช่นชาวบ้านภูฏานนั้น จึงจะฉายออกมาทางกายภาพ ที่แทรกปรัชญา หรือสัญลักษณ์ทางศาสนาตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ ไว้เตือนสติเตือนใจ แม้ศาสนาพุทธจะเน้นเรื่อง ความว่าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ว่างเปล่าแบบไม่มีอะไรเลย หากแต่ว่างจากกิเลส ว่างจากตัวตน ดังนั้นไม่ใช่ว่าบ้านเรือจะว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย แต่เป็นสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการพัฒนาจิตใจ จะเห็นได้ว่าชาวบ้านภูฏานจึงมีความเป็นตัวตนน้อยมาก เด็กนักเรียนมาพูดคุย ร้องเพลง เต้นระบำให้ชาวต่างชาติอย่างพวกเราดูอย่างเป็นมิตร พระภูฏานนำขนมปังมามอบให้พวกเรารับประทานเล่นอย่างเป็นกันเอง เมื่อเห็นคณะคนไทยนั่งประชุมกันในวัดของท่าน ความมีน้ำใจยังคงมีอยู่ในชีวิตประจำวันของคนภูฏานอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผู้เขียนก็ยังเชื่อว่าในประเทศไทยนั้น คงหลงเหลือธรรมชาติความดีนี้อยู่บ้าง ถ้าไม่ถูกแทนที่ด้วยความหวาดระแวงที่เป็นโรคร้ายแทรกซึมมากับโลกของวัตถุนิยมเสียก่อน

การเยือนประเทศภูฏานครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนได้เห็นว่า ความสุข เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้ออีกต่อไป เพียงแต่จะยอมเปิดใจมองเห็นหรือไม่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคม และโลก บางครั้งการมีชีวิตอยู่อาจจะต้องเหลือบมองเพื่อนบ้านของเราบ้างว่าอยู่กันอย่างไร และจะดูแลกันอย่างไร หลายครั้งที่ผู้เขียนอดนึกย้อนกลับมาประเทศไทยไม่ได้ว่า จะเป็นอย่างไรหนอ หากบ้านเมืองเราโดยทั่วไป จะมีสถาปัตยกรรมที่เข้าใจความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาจิตใจ เข้าใจสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม โดยไม่แปลกแยกออกจากธรรมชาติ และชาวบ้านธรรมดาก็สามารถมีบ้านในลักษณะนั้น ที่เป็นศิลปะแบบไทย ๆ เป็นของตนเองได้ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับการมีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคม และประเทศ

คงเป็นการบ้านสำหรับผู้บริหารบ้านเมือง ว่าจะนำพาสังคมไทยให้พบกับความสุขอย่างไร ต้องถามว่าจะลุกขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านจิตใจให้กับเพื่อนร่วมโลกได้หรือยัง หรือจะวิ่งตามประเทศอื่นที่มีความทุกข์อย่างนี้ตลอดไป ซึ่งถ้าหากจะเริ่มวันนี้ก็คงไม่สาย โดยก่อนอื่น คงจะต้องมาร่วมนิยามกันว่า ความสุขที่แท้จริง คืออะไร...

วันจันทร์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

นิพนิทรารมณ์อัตลักษณ์
















พิณบรรเลงเพลงกล่อมยามนิทรา
ลมเข้าห่มฟากฟ้าสะทกสะท้าน
แสนอ่อนเปลี้ยเพลียกายจากวันวาน
ความซบเซารอนรานพาลครอบงำ

ความง่วงเหงานั้นเล่าปรากฏอยู่
ในดวงเนตรทั้งคู่ดูบอบช้ำ
โอ้หทัยเหนื่อยหน่ายร้ายระกำ
ลมหายใจชื่นฉ่ำพลันโรยรา

เพราะฉันลืมดื่มด่ำกับความงาม
ในดงหนาม ดอกไม้ งามหนักหนา
ส่องประกายระย้ายิบแห่งเมตตา
เกินภาษาบรรยายในปฐวี

เพราะฉันลืมแสงทิพย์แห่งตะวัน
อันวิเศษสร้างสรรค์รุ้งเจ็ดสี
หยาดน้ำค้างพรายพร่างทางไมตรี
อักโขภิณีครูแก้วแววปัญญา

อันวิจิตรนฤมิตรท่วงทำนอง
อิสรารสตรึกตรองกรองภาษา
ประภัสสรสุนทรียสนทนา
สาดแสงทองทั่วฟ้าอย่างสามัญ

นิพนิทรารมณ์ใยเล่าเพียงกลกาล
แม้แปรเปลี่ยนสังขารเบญจขันธ์
แม้เอกภพแปลกแยกแตกสะบั้น
ผงเข้าตาเท่านั้นอันกลลวง

นิพนิทรารมณ์ใยเล่าเพียงเสพติด
บริโภคความคิดเครื่องบวงสรวง
แพร่กระจายถูกผิดธาตุทั้งปวง
โอ้อนุภาพแห่งดวงจิตวิญญาณ

พระเจ้าทรงผนวกเข้ากับมวลมนุษย์
เอกภาพโดยบริสุทธิ์อย่างพื้นฐาน
กำหนดได้ดำริชอบประสบการณ์
อนาคตดลบันดาลดั่งใจคน ๚ะ๛

วันพุธที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ครู














เธอคือใครดวงใจฉัน
แสงตะวันแห่งความหมาย
อ่อนละมุนเรืองรองราย

ส่องประกายในใจคน

ท่ามกลางทุกข์อันหม่นหมอง
ฟ้าคะนองความสับสน
ทางคับแคบแค้นอับจน

โกรธเกลียดล้นท่วมปฐพี

ฉันเห็นเธอในดวงตา
เช่นท้องฟ้าประกายสี
เช่นสายธารแห่งความดี

ทำหน้าที่อย่างพากเพียร

ฉันเห็นเธอในผู้อื่น
เขาเริงรื่นเมื่อรู้เรียน
เรียนเพื่อละการเบียดเบียน

เรียนเพื่อเปลี่ยนคุณค่าคน

วันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

Rabindranath Tagore's Geetanjali

Where the mind is without fear and the head is held high
Where knowledge is free
Where the world has not been broken up into fragments by narrow domestic walls
Where words come out from the depth of truth
Where tireless striving stretches its arms towards perfection
Where the clear stream of reason has not lost its way into the dreary desert sand of dead habit Where the mind is led forward by thee
Into ever-widening thought and action
Into that heaven of freedom, my Father, let my country awake

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เกิดตายก่อชีวิต















ลมแผ่วพริ้วปะทะที่ปลายจมูก
ดำดิ่งสู่กระแสธารไหลเอื่อย
ผ่อนคลายทาบทาทุกอณู
สยบความเหนื่อยล้าของร่างกาย


สดับฟังเสียงเพลงแห่งจิตวิญญาณ
ท่วงทำนองคุ้นเคยมิลืมเลือน
ทบทวนอย่างตั้งใจ
สายลมที่พัดมาชั่วนาตาปี
ลมหายใจ
ยังแผ่วพริ้วซื่อตรงลงที่เดิม

โดยไม่ตั้งใจ

เธอได้จับมือฉันขีดเขียนฟากฟ้า
ถักทอผืนดินแห่งความหวัง
หัดร้องเพลงกับสายลม
ยลกับความงามของแสงแดด ปุยเมฆ และขุนเขา

ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม
แต่ไม่สำคัญสำหรับฉันอีกต่อไป
ชีวิตไร้พรมแดน
ใต้จิตสำนึกเดียวกันของทุกสิ่ง
ลมหายใจของเขา เป็นลมหายใจของเราเช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

harmony of life (ต่อ)

Life is vibrating and it is also the same phenomena to the rhytm of music. What kind of music combination is your life?

วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙

HARMONY OF LIFE

Talk to Dr. Sivinee about arranging dialogue programme once. It happened this topic name. She also likes this name. In Thai it is "Karn Sod Sarn Khong Sap Pa Sing - Chakra Wan Thae Jing Piang Jang Wah". It was beautiful phrase really...